Symphony Communication Public Company Limited

2023

รู้ทันป้องกัน Ransomware ฉบับ Symphony

Ransomware เป็นหนึ่งในภัยคุกคามด้านไซเบอร์ที่ส่งผลกระทบต่อองค์กรและบุคคลทั่วไป นอกจากจะสร้างความเสียหายเป็นวงกว้างให้ระบบคอมพิวเตอร์ ยังส่งผลเสียต่อความน่าเชื่อถือขององค์กรอีกด้วย Ransomware ถือเป็นซอฟต์แวร์ประเภทหนึ่งที่ทำงานโดยมุ่งหวังทำการเข้ารหัสข้อมูลเพื่อล็อคไฟล์ในระบบคอมพิวเตอร์ ของเหยื่อที่ตกเป็นกลุ่มเป้าหมาย ส่งผลให้ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้และจะต้องทำการจ่ายค่าไถ่เพื่อปลดล็อกไฟล์ข้อมูลดังกล่าว ดังนั้นการทำความเข้าใจการทำงานของ Ransomware จึงเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันภัยที่อาจจะเกิดขึ้นได้

Ransomware มีวิธีการโจมตีอย่างไร?

Ransomware สามารถเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของเหยื่อได้หลายช่องทาง เช่น

  • ไฟล์แนบในอีเมล์
    โดยจะทำการโจมตีมาที่เหยื่อด้วยการส่งอีเมล์และแนบไฟล์ที่มี Ransomware แฝงมาด้วย โดยไฟล์แนบดังกล่าวจะถูกปรับแต่งให้ดูมีความน่าเชื่อถือเพื่อหลอกให้เหยื่อคลิกเปิดไฟล์ และหากเปิดไฟล์แนบจะทำให้ Ransomware ทำงานและเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ทันที
  • ลิงค์ปลอมในอีเมล์
    โดยจะทำการโจมตีผ่านลิงค์ปลอมในอีเมล์ ซึ่งผู้ไม่หวังดีจะส่งลิงค์ปลอมที่ดูมีความน่าเชื่อถือไปยังเหยื่อ และหากคลิกเปิดลิงค์อาจจะถูกสั่งให้ดาวน์โหลดไฟล์และติดตั้งในระบบคอมพิวเตอร์ได้ทันที
  • ช่องโหว่ของซอฟต์แวร์
    Ransomware จะทำการโจมตีมาที่ระบบคอมพิวเตอร์ผ่านทางช่องโหว่ของซอฟต์แวร์ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข
  • การใช้งานแพลตฟอร์มหรือโปรแกรมที่ไม่มีการป้องกันที่เพียงพอ
    Ransomware สามารถถูกนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ผ่านแพลตฟอร์มหรือโปรแกรมที่ถูกออกแบบมาให้ไม่สามารถป้องกันการโจมตีได้เพียงพอ ทำให้ผู้โจมตีใช้ช่องโหว่ดังกล่าวในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของเหยื่อ

ผลกระทบของ Ransomware นั้นไม่จำกัดเพียงแค่การล็อคการเข้าถึงข้อมูลแต่ยังส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์กรอย่างรุนแรง การไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลขององค์กรได้อันเนื่องมาจากการถูกเข้ารหัสข้อมูลอาจทำให้เกิดความหยุดชะงักและสูญเสียรายได้ขององค์กร นอกจากนี้ยังอาจทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงในกระบวนการกู้คืนข้อมูล ซึ่งทำให้องค์กรต้องเผชิญกับข้อจำกัดทางการเงินอีกด้วย

เมื่อพบว่าถูกโจมตี ควรดำเนินการอย่างไร

สิ่งแรกที่ควรทำหลังจากตรวจพบ Ransomware คือควรจะตัดการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ เพื่อจำกัดขอบเขตความเสียหายและป้องกันการแพร่กระจายของ Ransomware และในลำดับถัดไปแนะนำให้ติดต่อผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์เร่งตรวจสอบและกู้คืนข้อมูลเพื่อให้ระบบสามารถกลับมาทำงานได้โดยเร็วที่สุด 

แนวทางการป้องกัน Ransomware

  1. สำรองข้อมูลอย่างสม่ำเสมอและเก็บไว้ในสถานที่ปลอดภัย เช่น บน Cloud หรืออุปกรณ์ภายนอก ซึ่งการสำรองข้อมูลจะช่วยให้สามารถกู้คืนข้อมูลที่เสียหายได้
  2. อัปเดตซอฟต์แวร์ อาทิ ระบบปฏิบัติการและโปรแกรมในคอมพิวเตอร์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดโอกาสการใช้ช่องโหว่ดังกล่าวเพื่อเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
  3. ใช้โปรแกรมป้องกันไวรัสที่มีคุณภาพและอัปเดตให้เป็นปัจจุบันเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกันและตรวจสอบ Ransomware
  4. อบรมพนักงาน เพื่อให้เข้าใจและตระหนักถึงการทำงานที่ปลอดภัย ลดความเสี่ยงในการถูกโจมตีจาก Ransomware
  5. ใช้เทคโนโลยีตรวจสอบด้านความปลอดภัย เพื่อตรวจสอบความแข็งแรงของระบบคอมพิวเตอร์รวมถึงระบบเครือข่าย เพื่อจัดทำแผนดำเนินการแก้ไขได้อย่างทันท่วงทีและลดความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้
  6. ควบคุมสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลและระบบโดยสงวนสิทธิ์ให้เฉพาะบุคคลที่รับผิดชอบในส่วนงานนั้นที่สามารถเข้าถึงระบบได้เพื่อลดความเสี่ยงในการถูกโจมตี

ซิมโฟนี่ ตระหนักดีว่าการสูญเสียข้อมูลอาจส่งผลร้ายแรงจนทำให้ธุรกิจต้องหยุดชะงัก ภายใต้ภัยคุกคามประเภทนี้ การสำรองข้อมูลจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในแผนการกู้คืนระบบหากต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ด้วยความมุ่งมั่นที่จะช่วยปกป้องและเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความมั่นใจในการดำเนินธุรกิจ นอกเหนือจากบริการสำรองข้อมูล ในด้านบุคลากรซิมโฟนี่มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการออกแบบกระบวนการสำรองข้อมูลให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของแต่ละองค์กร ทั้งในรูปแบบของ Virtualization, Physical Server รวมถึงในระดับระบบปฏิบัติการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Microsoft Windows, Linux โดยครอบคลุมถึงการสำรองข้อมูลระดับ Database เช่น Oracle Database และ SAP HANA

จากที่กล่าวมา ซิมโฟนี่พร้อมที่จะเป็นพันธมิตรที่ให้คำแนะนำเพื่อปกป้องข้อมูลของท่านและส่งมอบบริการที่ดีที่สุด สามารถติดต่อเราได้ที่ Cloud@symphony.net.th หรือ เบอร์ 02 101 1111

ทำความรู้จักมาตรฐาน CSA-STAR สำคัญอย่างไรกับบริการ Cloud

เนื่องจาก Cloud Technology ที่พัฒนาขึ้นอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้ปัจจุบันองค์กรส่วนใหญ่เริ่มมีความต้องการใช้บริการ Cloud เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้งานจากผู้ให้บริการ Public Cloud แต่คำถามแรกๆ ที่มักเจอเสมอคือ Public Cloud เหล่านั้นมีความปลอดภัยเพียงพอหรือไม่ในการเอาข้อมูลสำคัญขององค์กรไปฝากไว้ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการที่ต้องสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้บริการว่าจะได้รับบริการที่มีคุณภาพและสามารถบริหารจัดเก็บข้อมูลองค์กรให้ปลอดภัยได้ในระยะยาว

CSA-Star คืออะไร

“Cloud Security Alliance (CSA) เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการจัดทำวิจัยและเผยแพร่ความรู้ในประเด็นด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบการประมวลผลแบบ Cloud โดยเฉพาะ ซึ่งได้มีการจัดอันดับภัยคุกคาม เทคโนโลยี และการเพิ่มความมั่นคงปลอดภัยสำหรับระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (Security Technology for Cloud Computing) สร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้งานระบบ Cloud ได้มากยิ่งขึ้น โดย CSA มีมาตรฐานของตัวเองที่ชื่อว่า มาตรฐาน CSA-STAR

CSA-STAR ย่อมาจาก Cloud Security Alliance (CSA) – Security, Trust & Assurance Registry (STAR ) เริ่มใช้งานเมื่อปลายปี 2011 โดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มความโปร่งใสของผู้ให้บริการและความมั่นใจในการใช้ระบบ Cloud  CSA-STAR จึงเป็นทะเบียนสาธารณะที่ระบุถึงการควบคุมความปลอดภัยของระบบ Cloud หลากหลายประเภท จากหลากหลายผู้ให้บริการซึ่งช่วยให้ผู้ใช้ที่ต้องการทำสัญญาหรือใช้บริการระบบ Cloud สามารถประเมินความปลอดภัยของผู้ให้บริการให้เหมาะสมกับความต้องการของตนเองได้ โดย CSA-STAR นั้นเป็นมาตรฐานความปลอดภัยบนระบบ Cloud ซึ่งเป็นส่วนเสริมเพิ่มเติมมาจากมาตรฐานความปลอดภัยของ ISO 27001 โดยมาตรฐาน CSA-STAR มุ่งเน้นที่ความปลอดภัยของการให้บริการ Cloud เป็นหลัก สำหรับในส่วนของการปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง หรือในส่วนของการรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูลเป็นเพียงส่วนประกอบ และในการขอการรับรอง CSA-STAR นั้นผู้ให้บริการ Cloud ต้องจัดทำ ISO 27001 และใช้ Cloud Control Matrix (CCM) เพิ่มเติม”

*อ้างอิงจาก https://www.dga.or.th/document-sharing/article/35977/

จะเห็นได้ว่า CSA-STAR Certification นั้นเป็นประโยชน์อย่างมากกับทุกหน่วยงานไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่เพราะช่วยสร้างความมั่นใจในการให้บริการและชื่อเสียงแก่หน่วยงาน ทำให้ผู้ใช้งานสามารถมั่นใจได้ถึงมาตรฐานหรือหลักฐานในการพิสูจน์ว่าระบบ Cloud ที่ต้องการจะใช้นั้นปลอดภัยจริง

โดยการรับรองมาตรฐาน CSA-STAR สามารถแบ่งได้เป็น 2 ระดับคือ

STAR Level 1: Self-Assessment

ต้องเปิดเผยผลการประเมินด้วยตนเองจากแบบสอบถาม CSA Consensus Assessment Initiative (CAI) และ / หรือ Cloud Control Matrix (CCM)

STAR Level 2: Third-Party Assessment-Based Certification

ต้องเปิดเผยผลการประเมินโดยหน่วยงานที่ผ่านการรับรองโดยผู้ตรวจสอบ STAR โดยใช้ CCM และ ISO27001 หรือ AICPA SOC2

Symphony ในฐานะผู้ให้บริการ Cloud เล็งเห็นถึงความสำคัญของความมั่นคงปลอดภัยของบริการ Cloud จึงได้พัฒนาบริการ Cloud ให้มีมาตรฐานความปลอดภัยเป็นไปตามข้อกำหนดของ CSA-STAR CERTIFICATE และผ่านการรับรองทั้ง 2 ระดับ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าว่าจะได้รับบริการ Cloud ที่มีมาตรฐานเหมือนกับผู้ให้บริการ Cloud ระดับโลก และยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกค้าได้รับบริการที่ดีที่สุด

Symphony Cloud Service พร้อมให้คำปรึกษาและบริการ Cloud ทุกรูปแบบ หากสนใจบริการติดต่อ 02 101 1111 หรือ E-mail : Cloud@symphony.net.th

Cloud Direct Connect กับ Hybrid Cloud Strategy

ปัจจุบันการใช้บริการ Cloud ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากซับซ้อนหรือเป็นเรื่องเฉพาะของฝ่าย IT อีกต่อไป หลายบริการที่เป็นโปรแกรมสำหรับองค์กรอย่างเช่น Office365 หรือ Salesforce ก็ให้บริการในรูปแบบ Cloud อยู่แล้ว หลายๆ หน่วยงานเริ่มย้ายข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ที่ตั้งอยู่ที่ออฟฟิศมาฝากไว้ที่ผู้ให้บริการ Cloud เพื่อลดต้นทุนในการดำเนินงานในระยะยาวและความคล่องตัวมากกว่า ซึ่งเป็นไปตามแนวโน้มการเติบโตของบริการ Cloud ตามรายงานของ DEPA คาดการณ์ว่า บริการ Cloud ในประเทศจะมีมูลค่าตลาดสูงถึง 31,500 ล้านบาทในปี 2568

แต่ยังมีข้อมูลหรือ Workload บางประเภทที่ยังไม่สามารถย้ายไปบน Cloud ได้ด้วยเหตุผลเรื่องความปลอดภัยและนโยบายด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูล หรือต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดที่เข้มงวดบางประการ ทำให้การใช้งานแบบ On-Premise ยังคงมีอยู่ ดังนั้น Hybrid Cloud จึงเกิดขึ้นโดยการรวมข้อดีของ Cloud และ On-Premise เข้าด้วยกัน เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจที่ต้องการการย้ายข้อมูลไปมาระหว่าง Cloud และ On-Premise ให้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ แล้วเราจะทำได้อย่างไร วันนี้ Symphony Cloud Service มีคำตอบ

Cloud Direct Connect เป็นบริการวงจรสื่อสารข้อมูลให้เช่าสำหรับลูกค้าองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อเชื่อมต่อระหว่างสำนักงานหรือศูนย์ข้อมูลของลูกค้า (On-Premise) ไปยังผู้ให้บริการ Cloud ต่างๆ เปรียบได้กับการสร้างทางด่วนให้กับข้อมูล เป็นทางด่วนส่วนตัวที่มีแต่ข้อมูลของเราวิ่งอยู่บนนั้นคนเดียวไม่ต้องแบ่งใช้ทางด่วนกับคนอื่น ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้รวดเร็วกว่า แตกต่างจากเดิมที่จะต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตสาธารณะซึ่งเหมือนกับถนนทั่วไปที่มีข้อมูลผู้ใช้งานจำนวนมากอยู่ในเส้นทางเดียวกัน ทำให้ข้อมูลในเส้นทางล่าช้ากว่าจะเข้าสู่ระบบ Cloud ได้

จะเห็นได้ว่าการใช้งาน Cloud Direct Connect นั้นเหมาะกับการใช้งานแบบ Hybrid Cloud มาก ทั้งในเรื่องของ Latency ที่ต่ำลงช่วยให้การถ่ายโอนข้อมูลระหว่างกันเกิดขึ้นในทันที  สามารถตอบโจทย์ด้านความปลอดภัยด้วย Private Network ที่เป็นของเราคนเดียว รวมถึงความเสถียรในการเชื่อมต่อ ซึ่งข้อดีทั้งหมดนี้ไม่สามารถการันตีได้หากใช้บริการอินเทอร์เน็ตสาธารณะ  ตอบโจทย์กลยุทธ์ขององค์กรที่ต้องการรวมข้อดีและทลายข้อจำกัดของทั้ง Cloud และ On-Premise ทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวและข้อมูลยังคงมีความปลอดภัย

โดยจุดเด่นของบริการ Cloud Direct Connect ของ Symphony คือการให้บริการด้วยเทคโนโลยี SDN-MPLS ที่มีความรวดเร็วในการจัดการ ลดความซับซ้อนในการเชื่อมต่อ มีระบบการคิดวิเคราะห์และมีความคล่องตัวยิ่งขึ้น ทำให้การเชื่อมต่อการสื่อสารของลูกค้ามีความต่อเนื่อง ตลอดจนรองรับความเร็วและแบนด์วิธที่สูงขึ้น โดยเป็นการรวมระบบการทำงานต่างๆ แบบอัจฉริยะเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นระบบจัดการเส้นทางอัตโนมัติ ระบบวิเคราะห์ความหน่วงของข้อมูล (Latency) ระบบวิเคราะห์ความหนาแน่นของโครงข่าย (Utilization) ระบบควบคุมและเฝ้าระวังข้อมูลศูนย์หาย (Packet Loss Monitoring) ระบบจำลองสถานการณ์ (Simulation) เพื่อประเมินผลกระทบล่วงหน้า และมีโครงข่ายกระจายไปครอบคลุมแทบทุก Data Center หลักๆ ทั่วประเทศ

นอกจากโครงข่ายคุณภาพที่ครอบคลุมพร้อมเชื่อมต่อไปยังผู้ให้บริการ Cloud ที่หลากหลายตามความต้องการแล้ว  Symphony ยังมี Cloud Team ที่มีประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาการใช้งาน Cloud Direct Connect เพื่อช่วยให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์การใช้งาน Hybrid Cloud  พร้อม Support Team ดูแลและให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อรองรับทุกความต้องการของลูกค้า

Symphony Cloud Service พร้อมให้คำปรึกษาและบริการ Cloud ทุกรูปแบบ หากสนใจบริการติดต่อ 02 101 1111 หรือ E-mail : Cloud@symphony.net.th

BaaS VS DRaaS เลือกแบบไหน ยังไงดี

อย่างที่เราทราบกันดีว่าการสำรองข้อมูลนั้นมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับองค์กรธุรกิจที่ข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญในการดำเนินงาน ปัจจุบันการสำรองข้อมูลโดยผู้ให้บริการ Cloud เป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยบริการสำรองข้อมูลด้วยระบบ Cloud นั้นมี 2 รูปแบบหลักๆ คือ BaaS หรือ Backup as a Service กับ DRaaS หรือ Disaster Recovery as a Service แล้ววิธีไหนที่เหมาะกับองค์กรของเรา วันนี้ Symphony Cloud Service จะมาแนะนำวิธีการสำรองข้อมูลแต่ละแบบให้ได้ทราบกัน

BaaS เป็นการสำรองข้อมูลขององค์กร โดยส่งสำเนาข้อมูลผ่านโครงข่ายออกมาเก็บที่ระบบ Cloud ของผู้ให้บริการภายนอก ตามนโยบายการเก็บรักษาข้อมูล เช่น การสำรองข้อมูลทุกวันตอนกลางคืนและเก็บไว้เป็นระยะเวลาหนึ่งเดือนหรือหนึ่งปี เพื่อป้องกัน Ransomware เป็นต้น ข้อดีของ BaaS คือมีค่าใช้จ่ายต่ำ ถือเป็นตัวเลือกที่ดีในการสำรองข้อมูลระยะยาวตามกฎหมายหรือข้อกำหนดต่างๆ แต่ข้อจำกัดที่สำคัญสำหรับ BaaS คือสำเนาชุดสุดท้าย (Last Copy) ที่เรามีถือว่าไม่ใช่ข้อมูลที่สดใหม่แล้ว เนื่องจากในระหว่างวัน Business Application มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และการกู้คืน (Restore) Last Copy ขึ้นมาใช้งานนั้นจะต้องมีการเตรียมระบบใหม่ที่จะให้ข้อมูล Restore กลับมา ซึ่งขั้นตอนทั้งหมดนี้ไม่ได้เกิดขึ้นในทันที และจะมีชุดข้อมูลที่ขาดหายไประหว่าง Last Copy จนมาถึงเวลาที่ Restore ระบบกลับมาใช้งานได้

DRaaS นั้นจะเป็นการสำรองระบบงานขององค์กรเต็มรูปแบบ โดยจะสำรองข้อมูลไปยังระบบ Cloud ของผู้ให้บริการภายนอกตลอดเวลา โดยข้อมูลนั้นจะถูกเก็บไว้เฉยๆ เพื่อ Standby รอและพร้อมทำงานทดแทนทันทีเมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติร้ายแรงขึ้นที่ Site หลัก โดยไม่จำเป็นต้อง Set up ระบบเพื่อทำงานทดแทน ข้อดีของ DRaaS คือทำงานได้รวดเร็ว ใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีในการ Recovery ระบบ เหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการความต่อเนื่องของข้อมูล ราคาถูกกว่าการสร้าง Data Center สำรองของตัวเอง มีค่าใช้จ่ายให้กับ Cloud Provider เฉพาะการจัดเก็บข้อมูลระหว่างที่ระบบ Replicate ซึ่งเป็นข้อมูลชั่วคราวและจ่ายเฉพาะค่า CPU และ Memory ตามที่ได้ใช้งานเท่านั้น

โดยสรุป จะเห็นได้ว่าทั้ง BaaS และ DRaaS ต่างก็เป็น Solution เพื่อการสำรองข้อมูลเหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่วัตถุประสงค์การใช้งาน ถ้าข้อมูลที่เราต้องการสำรองไม่ใช่แกนสำคัญขององค์กรที่มีเวลาให้แก้ไขได้หรือองค์กรของเรามีระบบที่ไม่ซับซ้อน สามารถซ่อมแซมระบบเองได้อย่างรวดเร็ว การเลือกใช้งาน BaaS ก็เป็นทางเลือกที่ดูเข้าท่าดี แต่ถ้าองค์กรของเรามีระบบที่ต้องทำงานตลอดเวลาหรือไม่มีเจ้าหน้าที่ดูแลด้านระบบโดยเฉพาะ การนำงานส่วนนี้ออกมาให้ผู้ให้บริการ Cloud DRaaS ที่มีทีมวิศวกรดูแลโดยเฉพาะจึงเป็นเรื่องที่เหมาะสมกว่า

Symphony Cloud มีวิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้าน Cloud Service มีบริการให้เลือกใช้หลายแบบและยังให้บริการ BaaS และ DRaaS อีกด้วย ซึ่งไม่จำกัดแค่การทำงานแบบ Cloud to Cloud แต่ยังสามารถทำงานแบบ Physical to Cloud ได้อีกด้วย ถ้ามีไอเดียที่อยากจะนำ Cloud ไปประยุกต์ใช้งานสำรองข้อมูลในองค์กร แต่ไม่แน่ใจเรื่องเทคนิคหรือการเลือกใช้งานระหว่างBaaS และ DRaaS สามารถติดต่อ Symphony Cloud Service ได้ตลอดเวลาครับ เพราะเรามีทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญยินดีให้คำปรึกษาเสมอ

สนใจบริการติดต่อ 02 101 1111 หรือ E-mail : Cloud@symphony.net.th

ให้ Symphony Cloud Service ดูแลคุณ

Disaster Recovery as a Service เพื่อความต่อเนื่องทางธุรกิจ

เหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้เช่น ภัยสงคราม อุทกภัย อัคคีภัย แผ่นดินไหว วาตภัย สิ่งเหล่านี้คือภัยพิบัติที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น และเมื่อเกิดขึ้นแล้วยังยากที่จะต้านทานภัยพิบัติเหล่านี้ได้ นอกจากนั้นหากเกิดเหตุแล้วมักตามมาด้วยความสูญเสีย ทั้งชีวิตและทรัพย์สินที่จะต้องฟื้นฟูกันใหม่ ในเมื่อไม่สามารถต้านทานหรือคาดการณ์ล่วงหน้าได้ ความไม่ประมาทดูเหมือนเป็นทางออกที่ดีที่สุด ธุรกิจจึงควรมีการวางแผนตั้งรับเพื่อให้สามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง (Business Continuity) หากเกิดเหตุภัยพิบัติขึ้นมา

Disaster Recovery หรือเรียกสั้นๆว่า DR หมายถึงการกู้คืนข้อมูลเมื่อเกิดภัยพิบัติ ในอดีตการวางแผนทำ DR นั้นมีความยุ่งยากซับซ้อน ตั้งแต่การคัดเลือกเทคโนโลยีสำหรับการทำ DR, การจัดเตรียมระบบโครงข่ายให้พร้อม, การวางแผนในการกู้คืนระบบ ไปจนถึงการจัดหาสาขาสำรองสำหรับการทำ DR จำเป็นต้องลงทุน Hardware เเละ Software ไว้ที่ Site สำรองเพื่อทำงานทดเเทน ในกรณีที่ไม่สามารถทำงานที่ Site หลักได้ ซึ่งฟังดูเหมือนง่าย เเต่เเท้ที่จริงเเล้วมีความซับซ้อนในการสร้างและมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก

แต่ Symphony Cloud Service นั้นมี Solution DR as a Service ที่จะช่วยให้การทำ DR นั้นกลายเป็นเรื่องง่ายยิ่งกว่าที่เคย เพราะธุรกิจสามารถเลือกได้ทันทีเลยว่าจะทำแผน DR ให้กับ Server ไหนบ้าง ไม่ว่า Server นั้นจะอยู่ในรูปแบบของ VM ที่ติดตั้งใช้งานอยู่ภายในบริษัทเอง หรือว่าจะอยู่บน Cloud ของผู้ให้บริการก็สามารถเลือกทำได้เช่นกัน และเมื่อทำ DRแล้วข้อมูลใน Server นั้นๆ ก็จะถูกทำสำเนาไปอยู่บนบริการ Cloud ของ Symphony อีกชุดและเชื่อมต่อผ่านโครงข่ายที่มีความปลอดภัยกลับมายัง Data Center หรือ Cloud ที่บริษัทใช้งานอยู่ เพื่อ Standby ให้พร้อมต่อการกู้คืนได้เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดใดๆ ขึ้นกับ Server Site หลัก

สิ่งที่องค์กรควรจะเตรียมรับมือและประเมินไว้ล่วงหน้าก่อนทำ DR คือ RPO และ RTO

RPO (Recovery Point Objective) คือระยะเวลาสูงสุดที่ยอมให้ข้อมูลเสียหายเมื่อระบบ Backup ล่มลง ซึ่งนั่นหมายถึงช่วงเวลาที่องค์กรยอมรับและเป็นผู้กำหนดออกมาเป็นตัวเลขด้วยตัวเอง อาทิเช่น ช่วงเวลาที่ข้อมูลจะสูญเสียหรือเสียหายได้มากที่สุดเท่ากับ 12 ชั่วโมง หรือ 24 ชั่วโมง นั่นคือสิ่งที่จะต้องยอมรับ

RTO (Recovery Time Objective) คือระยะเวลาสูงสุดที่จะกู้ข้อมูลได้หลังจากเกิดเหตุฉุกเฉินใดๆขึ้น เพื่อให้ระบบกลับมารองรับการดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง

Symphony Cloud Service มีผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ พร้อมให้คำแนะนำในการวางแผนการกู้คืนระบบเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อ RTO (ระยะเวลาสูงสุดที่จะกู้ข้อมูลได้หลังจากเกิดเหตุขัดข้องขึ้น) และ RPO (ระยะเวลาสูงสุดที่ยอมให้ข้อมูลมีความเสียหายเกิดขึ้น) ที่บริษัทกำหนดได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในราคาที่ประหยัดกว่า

ถือว่าเป็น Next Generation Services รูปแบบใหม่สำหรับ Disaster Recovery Solution ที่ Symphony Cloud Service พร้อมช่วยให้องค์กรลดโอกาสการเกิด Downtime เเละธุรกิจจะยังคงดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะเกิดภัยพิบัติที่ไม่คาดคิด โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนเเบบ Hot Site เเบบเดิมๆ

สนใจบริการติดต่อ 02 101 1111 หรือ E-mail : Cloud@symphony.net.th

Backup as a Service (BaaS) ข้อมูลสำคัญป้องกันไว้ดีกว่าแก้

ในยุคดิจิทัล ข้อมูลถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับธุรกิจ จนมีคนเปรียบว่า “Data is the new oil” ดังนั้นความได้เปรียบของแต่ละองค์กรหรือบริษัทล้วนมาจากการหาและใช้ข้อมูลทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่เป็นขององค์กรเอง ข้อมูลของคู่แข่งในตลาด หรือข้อมูลของลูกค้าเอง ข้อมูลทุกอย่างล้วนมีค่าและมีความสำคัญที่จะต้องเก็บรักษาให้ปลอดภัยไม่ให้เกิดการสูญหาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องสามารถนำกลับมาใช้ได้ตลอดเมื่อต้องการ

การที่ข้อมูลจะสูญหายได้นั้นเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ทั้งเรื่องความชำรุดของอุปกรณ์ที่ใช้ เกิดจากความผิดพลาดของตัวซอฟต์แวร์เอง จากภัยพิบัติหรืออุบัติเหตุ เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม การโจรกรรม ความผิดพลาดที่เกิดจากตัวผู้ใช้งานเอง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถูกโจมตีทางไซเบอร์ที่นับวันจะยิ่งรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน แม้ว่าเราจะสามารถเตรียมการรับมือกับเหตุต่างๆ ที่จะทำให้ข้อมูลเราสูญหายได้ แต่ปราการด่านสุดท้ายคือการสำรองข้อมูล ที่เราจะมั่นใจได้ว่าไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น องค์กรยังคงมีข้อมูลสำคัญเก็บอยู่อย่างปลอดภัย

Symphony Cloud Service ขอพาทุกคนมารู้จักกับ Backup as a Service (BaaS) ว่ามันคืออะไร และมีประโยชน์อย่างไรกับธุรกิจ

Backup as a Service (BaaS) คืออะไร

เป็นโซลูชั่นการสำรองและการจัดเก็บข้อมูลโดยเก็บไว้สำรองกับผู้ให้บริการ Cloud ภายนอกอีกหนึ่งชุด จากเดิมที่หลายๆ องค์กรมักจะทำการเก็บหรือสำรองข้อมูลแบบ On-Premises ขององค์กรเองเพียงชุดเดียว แต่ตามแนวคิด 3-2-1 Backup Rule สมัยใหม่ การสำรองข้อมูลบนระบบ Cloud สามารถป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับข้อมูลได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดเหตุไม่คาดคิดทำให้ธุรกิจไม่สามารถดำเนินต่อไปได้  แนวทางในการจัดเก็บข้อมูลแบบ Backup  as a Service นี้ จึงได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเดิมที่องค์กรต้องใช้ทรัพยากร ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ต่างๆ ขององค์กรเอง โซลูชั่นนี้จึงช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดการ เพิ่มประสิทธิภาพการสำรองข้อมูลและกู้คืนข้อมูลได้อย่างดี  ส่วนการจัดการทรัพยากรที่ต้องใช้นั้นจะเป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการ BaaS

ทำไมต้องใช้ Backup as a Service

ในปัจจุบันองค์กรและธุรกิจจำนวนมาก มีการใช้งานและเก็บข้อมูลในการดำเนินงานการพัฒนาธุรกิจไว้ในรูปแบบดิจิทัลและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งการเก็บและใช้งานข้อมูลเหล่านี้เองก็มีความเสี่ยงที่ข้อมูลจะสูญหายอันเนื่องมากจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น ระบบจัดเก็บเสียหาย โดนโจมตีทางไซเบอร์ รวมถึงเหตุการณ์ไม่คาดคิดอื่นๆ ซึ่งหากข้อมูลเหล่านี้สูญหายหรือรั่วไหล อาจสร้างความเสียหายให้แก่องค์กรหรือธุรกิจเป็นอย่างมาก ถึงจะมีการสำรองข้อมูล On-premises ไว้อยู่แล้ว แต่ถ้ามีการใช้บริการ BaaS เพิ่ม การสำรองข้อมูลลงบน Cloud ย่อมปลอดภัยและเพิ่มความมั่นใจในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินได้ โดยประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้งาน BaaS คือ

  1. ความรวดเร็ว เนื่องจากสามารถเริ่มใช้งานได้ทันที ไม่จำเป็นต้องลงทุนด้านอุปกรณ์และไม่ต้องดูแลรักษา เพราะเป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการอยู่แล้ว
  2. ความปลอดภัย เพราะข้อมูลที่ถูกสำรองไว้บน Cloud จะถูกเข้ารหัสและมีการทำสำรองไว้เพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูล
  3. ค่าใช้จ่ายถูกกว่า ไม่มีต้นทุนแฝงอื่นๆ เหมือนการสำรองข้อมูลแบบ On-Premises ที่จะต้องเช่าค่าไฟ ค่าอินเทอร์เน็ต รวมถึงค่าใช้จ่ายในการดูแลระบบทั้งหมด

Backup as a Service (BaaS) เหมาะสมกับใคร

บริการ BaaS เหมาะกับองค์กรทุกขนาด ไม่ว่าจะเป็นบริษัทขนาดเล็กที่ไม่อยากลงทุนซื้อฮาร์ดแวร์และต้องการSolution ในการสำรองข้อมูลในทันที หรือบริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องการจะขยับขยายการสำรองข้อมูลเดิมแบบ On-Premises ให้สามารถรองรับการสำรองข้อมูลที่มากขึ้น ซึ่งบริการ BaaS สามารถตอบโจทย์ได้ทั้งในเรื่องของการประหยัดต้นทุน ความรวดเร็วและองค์กรของคุณก็ไม่ต้องจัดการกับปัญหาหลังบ้านหรือปัญหาทางเทคนิคใดๆ

การมี Backup Solution ที่ดีจะช่วยให้สามารถเก็บรักษาข้อมูลได้อย่างปลอดภัยและเมื่อเกิดเหตุไม่คาดคิดก็สามารถกู้คืนข้อมูลกลับมาใช้ได้ทันเวลาเมื่อต้องการ  ซึ่ง Symphony Cloud Service มีผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำแนะนำในการเลือก Backup as a Service Solution ที่ช่วยให้คุณเลือกวางระบบการสำรองข้อมูลได้เหมาะกับความต้องการใช้งานและงบประมาณขององค์กร

สนใจบริการติดต่อ 02 101 1111 หรือ E-mail : Cloud@symphony.net.th

IaaS, PaaS, SaaS ต่างกันอย่างไร

อย่างที่เราทราบกันดีว่าในปัจจุบัน ผู้ประกอบการหลายรายเริ่มนำบริการ Cloud ไปปรับใช้กับธุรกิจ ดังนั้นการทำความเข้าใจความแตกต่างและข้อดีของบริการ Cloud แต่ละรูปแบบนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ วันนี้ Symphony Cloud จะขอพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับบริการ Cloud ทั้ง 3 รูปแบบ โดยจะอธิบายให้เห็นถึงความแตกต่าง ตัวอย่างของการให้บริการ ข้อดีและความเหมาะสมในการใช้งานในแต่ละรูปแบบด้วย

Infrastructure-as-a-Service (IaaS)

เป็นบริการให้เช่าทรัพยากรโครงสร้างพื้นฐานระบบไอที เช่น CPU, Memory, Storage และ Networking ซึ่งลูกค้าสามารถกำหนดขนาด (Capacity) ให้เหมาะสมกับความต้องการได้เอง โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนซื้อ Hardware ของตัวเอง ยกตัวอย่าง IaaS เช่น Microsoft Azure, AWS EC2, Google Compute Engine (GCE) เป็นต้น

Platform-as-a-Service (PaaS)

เป็นบริการให้เช่าแพลตฟอร์มสำหรับนักพัฒนา Software โดยผู้ให้บริการจะจัดเตรียมทรัพยากรรวมถึง Framework หรือ Tools ต่างๆ เพื่อช่วยให้นักพัฒนา Software สามารถพัฒนาซอฟต์แวร์หรือแอปพลิเคชันต่างๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็วและปรับเปลี่ยนได้ตามต้องการตามความเหมาะสม ตัวอย่าง PaaS เช่น Google App Engine (GAE) และ AWS Elastic Beanstalk เป็นต้น

Software-as-a-Service (SaaS)

เป็นบริการให้เช่าซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่ผู้ใช้บริการสามารถสมัครสมาชิกและเข้าใช้งานได้ทันทีผ่านอินเทอร์เน็ต โดยซอฟต์แวร์ดังกล่าวจะทำงานอยู่บน Cloud ซึ่งผู้ให้บริการเป็นผู้ดูแลทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์เอง ตัวอย่าง SaaS เช่น O356, Google Workspace, Dropbox, Salesforce เป็นต้น

สรุปความแตกต่างระหว่าง IaaS, PaaS และ SaaS

IaaS : ทรัพยากรให้เช่าที่มีความยืดหยุ่นในการปรับขนาดทรัพยากรเพื่อโฮสต์แอปทางธุรกิจที่สร้างขึ้นเองรวมถึงการจัดเก็บข้อมูลทั่วไป

PaaS : สร้างขึ้นบนแพลตฟอร์ม IaaS เพื่อลดความจำเป็นในการดูแลโครงสร้างพื้นฐาน ช่วยให้ธุรกิจไปมุ่งเน้นที่การพัฒนาแอปแทนโดยไม่ต้องกังวลเรื่องการดูแลระบบ

SaaS : เป็น Software สำเร็จรูปพร้อมใช้งานที่สร้างมาเพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจ (เช่นเว็บไซต์หรืออีเมล) โดยส่วนมากแล้วแพลตฟอร์ม SaaS สมัยใหม่ มักถูกสร้างขึ้นบนแพลตฟอร์ม IaaS หรือ PaaS อีกที

บริการทั้ง 3 รูปแบบเหมาะกับธุรกิจที่ต้องการใช้บริการ Cloud โดยสามารถเลือกใช้งานอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ หรือใช้งานร่วมกันตามจุดประสงค์ของการใช้งาน

Symphony Cloud Service พร้อมให้คำปรึกษาและบริการ Cloud ทุกรูปแบบ หากสนใจบริการติดต่อ 02 101 1111 หรือ

 E-mail : Cloud@symphony.net.th

Cloud คืออะไร แล้ว Cloud แบบไหนเหมาะกับเรา

หลายๆ คนคงเคยได้ยินคำว่า Cloud มาบ้าง ไม่ว่าจะเป็น Cloud Computing หรือ Cloud Service ซึ่งเรามักจะรู้จักในลักษณะของบริการฝากไฟล์ข้อมูล รูปภาพหรือเอกสารจากผู้ให้บริการต่างๆ เช่น Google Drive จาก Google หรือ OneDrive จาก Microsoft โดยอาจเป็นการให้บริการฟรีหรือพ่วงมากับบริการอื่นๆ แต่อันที่จริงแล้ว Cloud Service นั้นสามารถใช้งานได้หลากหลายมากกว่าแค่เป็นเพียงพื้นที่จัดเก็บไฟล์ทั่วๆ ไปที่เราคุ้นเคยกัน

แล้ว Cloud Computing คืออะไร?

Cloud Computing คือการให้บริการทรัพยากรทางด้านคอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่ง ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงได้ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยผู้ให้บริการจะสร้างโครงสร้างพื้นฐานบน Data Center ที่ประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ (Cloud Server) ที่ซับซ้อนจำนวนมากด้วยการเข้าถึง Cloud ได้จากทุกที่บนโลกเพียงแค่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ทำให้มีความยืดหยุ่นในการใช้งานมากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป และการที่รวบรวมทรัพยากรคอมพิวเตอร์จำนวนมากไว้ด้วยกัน ทำให้สามารถเลือกเพิ่มหรือลดการใช้งานได้ตามต้องการ โดยไม่ต้องลงทุนซื้ออุปกรณ์เพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคต นอกจากนี้ยังไม่มีค่าใช้จ่ายในการดูแลอุปกรณ์เพราะเป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการ ทำให้ Cloud Service ได้รับความนิยมในหลายกลุ่มธุรกิจ

Cloud Computing แบบไหนที่เหมาะกับเรา?

เราสามารถแบ่ง Cloud Computing ออกเป็น 3 แบบตามลักษณะการใช้งาน โดยแต่ละแบบนั้นจะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันขึ้นอยู่กับวัตุประสงค์การใช้งาน

  1. Public Cloud : คือบริการ Cloud Computing ที่จะใช้ทรัพยากรต่างๆ จากผู้ให้บริการเช่น ระบบ Hardware เสมือน ระบบโครงข่ายหรือ Network และระบบ Software ร่วมกันกับผู้ใช้งานอื่นๆ แต่จะไม่สามารถเข้าถึงระหว่างกันได้หากไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งจะมีระบบรักษาความปลอดภัย เช่น Cloud Firewall เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งาน โดยการใช้งานจะเป็นแบบ Pay-as-You-Go หรือจ่ายตามการใช้งานจริง เหมาะกับการที่มีการเพิ่ม-ลดขนาดทรัพยากรบ่อยๆ หรือต้องรองรับการใช้งานจำนวนมากพร้อมๆ กัน เช่น Web Application ต่างๆ
  2. Private Cloud : คือบริการ Cloud Computing ที่จัดสรรทรัพยากรให้ใช้แบบส่วนตัวโดยไม่ต้องแบ่งหรือใช้ร่วมกับผู้อื่น แต่องค์กรจะต้องลงทุนด้านทรัพยากรทั้งหมด โดยผู้ให้บริการจะดูแลระบบให้ทั้งหมด เริ่มตั้งแต่การออกแบบตามความต้องการใช้งาน การติดตั้ง ความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นใจในการใช้งานมากยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับการใช้งานที่เน้นในเรื่องการรักษาความปลอดภัยหรือการเก็บข้อมูลที่เป็นความลับ
  3. Hybrid Cloud : คือบริการ Cloud Computing ที่รวมเอาข้อดีของ Public Cloud และ Private Cloud ไว้ด้วยกัน โดยมีการทำงานทั้ง 2 ระบบตามความเหมาะสม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน

ทั้งนี้ ไม่ว่าจะใช้งาน Cloud รูปแบบไหนต่างต้องใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าถึงการใช้งาน ซึ่ง Symphony มีโครงข่ายอินเทอร์เน็ตที่ครอบคลุม สามารถเข้าสู่ Data Center ชั้นนำได้หลากหลายเส้นทาง ตอบโจทย์การใช้งาน Cloud ทุกประเภท นอกจากนี้ยังมี Symphony Cloud Service ที่จะคอยให้คำแนะนำในการใช้งาน Cloud ทุกรูปแบบ อุ่นใจกว่าด้วยการให้บริการแบบ One Stop Service ดูแลตั้งแต่ระบบโครงข่ายอินเทอร์เน็ตไปจนถึงการใช้งาน Cloud แบบไร้รอยต่อ

สนใจบริการติดต่อ 02 101 1111 หรือ E-mail : Cloud@symphony.net.th   

เตรียมความพร้อมก่อน Transform to Cloud กับ Symphony

ข้อมูลจากศูนย์วิจัย Gartner คาดการณ์ว่าค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ Cloud สาธารณะ (Public Cloud) ในประเทศไทยจะมีมูลค่าสูงถึง 54,409 ล้านบาทในปี 2023 เติบโตขึ้นจากปี 2022 ถึง 31.8% เนื่องจากการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานของภาคธุรกิจที่เริ่มใช้บริการ Cloud มากขึ้น เนื่องจากระบบ Cloud นั้น ไม่ได้เป็นเพียงแค่พื้นที่จัดเก็บข้อมูลเท่านั้นแต่เป็นระบบโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการทำธุรกิจ (Business Application) เช่น ข้อมูล คน คู่ค้า กระบวนการ เทคโนโลยีสำหรับการผลิตและการบริการต่างๆ ให้กับลูกค้า ทั้งยังสามารถปรับลดขนาดได้เหมาะสมตามความต้องการของธุรกิจต่างๆ

จากงานวิจัยพบว่าผู้ประกอบการหลายรายยังคงมองว่า Cloud เป็นเพียงแค่พื้นที่จัดเก็บข้อมูล (Storage) มีค่าใช้จ่ายในการใช้งานแบบครั้งเดียว (CAPEX) และคุ้นเคยกับการลงทุนในระบบแบบ On-Premise ซึ่งอาจทำให้เสียโอกาสในการดำเนินธุรกิจเนื่องจากความล่าช้าในการจัดหาอุปกรณ์เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจรวมถึงการดูแลระบบที่จะเกิดขึ้นภายหลัง

อันที่จริงแล้วระบบ Cloud ที่มีความยืดหยุ่นกว่าแตกต่างจากระบบ On-Premise มาก เพราะเริ่มต้นใช้งานได้เร็วกว่า สามารถควบคุมต้นทุนได้ ทั้งในช่วงเริ่มต้นธุรกิจหรือช่วงขยายธุรกิจ ระบบ Cloud ยังคงตอบสนองได้ตามความต้องการ แต่สิ่งสำคัญในการเตรียมพร้อมก่อนตัดสินใจใช้บริการ Cloud คือ

  1. รู้จัก Cloud รู้จักเรา : ควรทราบถึงประโยชน์และข้อดีของ Cloud และเข้าใจว่าธุรกิจต้องการใช้ Cloud เพื่อวัตถุประสงค์ใด เพราะ Cloud นั้นช่วยสนับสนุนการดำเนินธุรกิจ ถ้ายังไม่เข้าใจและไม่กำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน Cloud อาจไม่ตอบโจทย์กลยุทธ์ทางธุรกิจได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
  2. การใช้งาน Cloud นั้นไม่ควรจำกัดเฉพาะหน่วยงานด้าน IT แต่ควรประยุกต์ใช้กับหน่วยงานอื่นๆ เพื่อปรับปรุงการทำงานหรือการให้บริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ดีที่สุด
  3. Long life learning : องค์กรควรสนับสนุนให้พนักงานเรียนรู้นวัตกรรม Cloud ใหม่ๆ อยู่เสมอ เพื่อการใช้งาน Cloud ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเกิดการสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ๆ เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการให้ดีขึ้นจากการนำ Cloud มาใช้ในองค์กร

หลายบริษัทประสบความสำเร็จจากการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานแบบเดิมมาใช้งานบนระบบ Cloud โดยเริ่มจากการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน เช่น ต้องการเป็นโรงงานอัจฉริยะโดยการใช้งาน Cloud เพื่อระบุปัญหาในกระบวนการผลิต ช่วยให้ลดเวลาการแก้ไขปัญหาจากวันเหลือเพียงไม่กี่ชั่วโมง หรือการนำข้อมูลทางการตลาดที่เกิดขึ้นบน Cloud ไปออกแคมเปญกระตุ้นยอดขายแบบ Realtime 

การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนทำให้การใช้บริการ Cloud ของธุรกิจประสบความสำเร็จทั้งในด้านกลยุทธ์การดำเนินงานและด้านการเงิน จากงานวิจัยล่าสุดพบว่า บริษัทที่ตั้งเป้าหมายการลงทุนในเทคโนโลยี Cloud นั้น สามารถลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจได้ถึง 1.2 เท่าในทวีปอเมริกาเหนือ และ 2.7 เท่าในทวีปยุโรป เมื่อเทียบกับบริษัทที่ใช้แค่การสำรองข้อมูลเป็นหลัก หากธุรกิจของคุณตั้งเป้าหมายและพร้อมให้ความรู้พนักงานในองค์กรเรื่องเทคโนโลยีของ Cloud แต่ไม่ทราบว่าจะเริ่มอย่างไร ทีมงานSymphony Cloud Service ยินดีให้คำปรึกษาบริการ Cloud ทุกรูปแบบ เพราะเราเชื่อมั่นว่าการลงทุนในเทคโนโลยี Cloud นั้นให้ผลตอบแทนคุ้มค่าในอนาคตอย่างแน่นอน

สนใจบริการติดต่อ 02 101 1111 หรือ E-mail : Cloud@symphony.net.th